ชื่อสามัญ:
อิมิดาคลอพริด(Imidacloprid) 70%wg
ประเภทของยา :
ผง
อัตราการใช้:
อัตรา 2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นป้องกันเพลี้ย
เมื่อพบเพลี้ยระบาดควรใช้ อัตรา 5 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร
ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้
ชื่อสามัญ:
อิมิดาคลอพริด(Imidacloprid) 70%wg
ประเภทของยา :
ผง
อัตราการใช้:
อัตรา 2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นป้องกันเพลี้ย
เมื่อพบเพลี้ยระบาดควรใช้ อัตรา 5 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร
ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้
ชื่อสามัญ:
ฟิโพรนิล(fipronil) 5% W/V SC
กลุ่มสารเคมี :
Phenylpyrazole
ประเภทของยา :
น้ำ
คุณสมบัติพิเศษ :
เป็นยาเย็น
อัตราการใช้:
อัตรา 10-15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่ป้องกันเพลียหรือแมลง
เมื่อพบเพลียหรือแมลงระบาดควรใช่ อัตรา 20-30 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร
ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้
ชื่อสามัญ:
คลอร์ไพริฟอส ( chlorpyrifos ) 40 % EC
ประเภทของยา :
น้ำ
อัตราการใช้:
อัตรา 30 – 40 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร
ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้
ชื่อสามัญ:
ไซเปอร์เมทริน 35% Cypermethrin 35% w/v EC
กลุ่มสารเคมี:
Pyrethroid
ประเภทของยา :
น้ำ
สารสำคัญ:
(RS)-α-cyano-3-phenoxybenzyl(1RS,3RS;1RS,3SR-3-(2,2-dichlorovinyl)-2-2-dimethylcyclopropanecarboxylate
อัตราการใช้:
อัตรา 5-10 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่ป้องกันแมลง
เมื่อพบแมลงระบาดควรใช่ อัตรา 15-25 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร
ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้
ชื่อสามัญ:
อะบาเม็กติน (abamectin) 1.8% w/v EC
ประเภทของยา :
น้ำ
อัตราการใช้:
กำจัดแมลงศัตรูใช้อัตรา 20 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
กำจัดแมลงศัตรูพืชอื่น ๆให้ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก
ชื่อสามัญ:
บูโพรเฟซิน 25% W/P
กลุ่มสารเคมี :
Thiadiazine
ประเภทของยา :
ผง
สารสำคัญ :
2-tert -butylimino-3-isopropyl-5-phenl-1,3,5-thiadiazinan-4-one
คุณสมบัติพิเศษ :
เป็นสารยับยั้งการลอกคราบของแมลง
ควบคุมการฟักไข่ ลดการวางไข่ จึงควบคุมแมลงได้นาน
อัตราการใช้:
อัตรา 30 กรัม ต่อ 20 ลิตร
ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้
ชื่อสามัญ:
คาร์โบซัลแฟน 20 % w/v EC
กลุ่มสารเคมี :
Carbamate
ประเภทของยา :
น้ำ
สารสำคัญ :
2,3 dihydro-2,2-dimethyllbenzofuran-7-yl(dibutylaminothio)methylcarbamate
อัตราการใช้:
อัตรา 20 – 40 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร
ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้
1. เพลี้ยไฟ
2. ไรแดง/ไรขาว
3. ไวรัส
1.เพลี้ยไฟ
แมลงปากดูดที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก มักระบาดในช่วงฤดูแล้ง และเป็นสาเหตุของโรคไวรัสในพริกอีกด้วย
การเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ลักษณะใบจะหงิกโดยขอบใบจะม้วนขึ้น หรือเรียกง่ายๆว่า “หงิกหงาย”
แนวทางการรักษา แนะนำให้ใช้ควบคู่ระหว่างสารกำจัดแมลงที่มีลักษณะการออกฤทธิ์สัมผัสและดูดซึมควบคู่กัน และควรสลับกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการดื้อยา และไล่กลุ่มที่ออกฤทธิ์รุนแรงขึ้นไปเรื่อย ถ้าอาการไม่ดีขึ้น
ตัวยาที่ใช้ฆ่าวัชพืชในนาข้าว มีฤทธิ์ทำลายอยู่ทั้งหมด 8 กลุ่ม…
1.กลุ่มออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ACCase…มีชื่อยาสามัญว่า ฟิโนซาพรอพ, ไซฮาโลฟอน, ควิซาโลฟอน, โพรฟ็อกซิดิม
2.กลุ่มออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งเซลล์…ชื่อยาสามัญ บิวตาคลอร์, แพรทริลาคลอร์
3.กลุ่มออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์แสง…ชื่อยาสามัญ โพรพานิล
4.กลุ่มออกฤทธิ์การทำงานของเอนไซม์ ALS…ชื่อตัวยาสามัญ บิสไพรีแบคโซเดียม, ไพริเบ็นโซซิม, เมทซัลฟูรอน/คลอริมูรอน, เอท็อกซีซัลฟูรอน, พีน็อกซูแลม, ไพราโซซัลฟูรอน
5.กลุ่มออกฤทธิ์ยังย้ังการสังเคราะห์กรดไขมัน…ชื่อตัวยาสามัญ ไธโอเบนคาร์บ
6.กลุ่มออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ PPO…ชื่อตัวยาสามัญ ออกซาไดอะซอน, ออกซาไดอาร์กิล
7.กลุ่มออกฤทธิ์ทำงานคล้ายฮอร์โมน IAA…ชื่อตัวยาสามัญ 2,4-ดี
8.กลุ่มออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์แคโรทีนนอยด์…ชื่อตัวยาสามัญ โคลมาโซน
สารฯกลุ่มที่เราใช้ในการป้องกันกำจัด เชื้อราไฟทอฟทอรา หลักๆ คือ
…..กลุ่ม A1 เฟนนิลเอไมด์ เป็นสารออกฤทธิ์ดูดซึมและมีการต้านทานสารฯข้ามกลุ่ม เมื่อใช้เป็นประจำ…..เมทาแลกซิล – ริดโดมิลเป็นตัวหลักที่เราใช้ ส่วนใหญ่เป็นสารฯที่นำเข้ามาจากจีน มีราคาถูกทำให้มีการใช้พร่ำเพรื่อ จนเชื้อต้านทานต้องใช้อัตราสูงขึ้น ใช้ ริดโดมิล-เอ็ม(+แมนโคเซป)หรือจะเลือกสูตรใหม่ที่เค้าเปลี่ยนโครงสร้าง ริดโดมิล-โกลด์ ส่วนเบนาแลกซิล – กัลเบน,….. ออกซาไดซิล -แซนโดแฟน ที่มีจำหน่ายเป็นสูตร+แมนโคเซป ในบางพื้นที่หาซื้อมาใช้ยาก
…..กลุ่มสารฯที่แนะนำให้ใช้สลับ กลุ่ม H5 คาร์บอกซิลิกแอซิดเอไมด์…..ไดเมทโธมอร์ป – ฟอรัม , อะโกรแบท(+แมนโคเซป)…..ไอโพรวาลิคาร์บ – อินเวนโต(+โพรพิเนป) ผู้ผลิตบอกว่าถ้าเชื้อราต้านทานกลุ่ม A1 ให้ใช้กลุ่มนี้สลับ มีสารใหม่ในกลุ่มนี้ขึ้นทะเบียนผ่านแล้ว แมนดิโปรปามิด – รีวุส( + แมนโคเซป) วาลิฟีนาเลท – เอสโตเคด ( + แมนโคเซป)
…..การใช้สารฯกลุ่มสัมผัสเข้ามาแทรกก็เป็นทางเลือกที่ดีและช่วยยืดเรื่องความต้านทาน กลุ่ม M ออกฤทธิ์หลายจุดแบบสัมผัส แมนโคเซป – ไดเทน เอ็ม,…..แมนเซท ดี…..เพนโคเซป,….. โพรพิเนป – แอนทราโคล,…..โฟลเพท – โกลด์ทอป ชื่อการค้าที่แนะนำไว้คือสารฯมาตรฐานคุณภาพดี แต่ราคาจะแพงหน่อย
…..หรือ กลุ่ม U ยังไม่ทราบการออกฤทธิ์ ไซมอคซานิล – เคอร์เซท เอ็ม(+แมนโคเซป)
มีสารในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้ เพราะออกฤทธิ์ดูดซึมทั้งขึ้นบนและลงล่าง คือ U33 ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม – อาลีเอท เมื่อเปิดใช้แล้วจะต้องปิดปากถุงให้สนิท เพราะสารดูดความชื้นได้เร็ว กลายเป็นก้อนสีดำไม่ละลายน้ำ และ ฟอสฟอรัสแอซิด – คิวโปรฟอส, โฟลิ-อาร์-ฟอส, ทั้ง 2 ชนิดเป็นปุ๋ยในรูปฟอสไฟต์ (PO3-) ห้ามใช้พร้อมกับปุ๋ย เพราะธาตุโลหะที่มีประจุ +2 ในปุ๋ยจะทำปฏิกิริยาทำให้สูญเสียประสิทธิภาพ สารกลุ่มนี้ใช้กระตุ้นให้พืชสร้างภูมิต้านทาน (phytoalexin)และยับยั้งการงอกของเส้นใยเชื้อรา (mycelia) ระงับการเจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
…..ถ้าปัญหาหนักหนามากก็คงต้องใช้บริการกลุ่ม C ยับยั้งระบบหายใจ C 3 อะซอคซีสโตรบิน – อมิสตา,…..ไพราโคลสโตรบิน -เฮดไลน์,….. คริโซซิมเมทธิล – สโตรบี้,…..ไตรฟลอกซีสโตรบิน – ฟลิ้น,….. ฟาโมซาโดน – อิเควชั่น(+ไซมอกซานิล),…..ฟีนามีโดน- ซีเคียว(+แมนโคเซป) ข้อจำกัดเหมือนกลุ่ม A 1 เลือกใช้สารใดสารหนึ่งและไม่ใช้ซ้ำในกลุ่มเดียวกัน ไม่ใช้ซ้ำต่อเนื่องกันเกิน 2 ครั้ง
กลุ่ม B ยับยั้งไมโตซีสและการแบ่งเซล …..B3 อีทาบอกแซม – ทาบอก
สารกลุ่มใหม่ล่าสุดที่ใช้ป้องกันกำจัดเชื้อรากลุ่มนี้ กลุ่ม B5 + U33 ฟลูโอพิโคไลด์ + ฟอสอีทิล – อะลูมีเนียม – โปรไฟเลอร์