คาร์บาเมต (carbamates) เป็นยาฆ่าแมลงกลุ่มหนึ่งที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน สารเคมีในกลุ่มนี้ตัวแรกที่มีประวัติในการใช้ ก็คือ อีเซอรีน (eserine) หรือ ฟัยโสสติกมีน (physostigmine) สารนี้เป็นสารพิษที่พบในเมล็ดถั่วคาลาบาร์ (Calabar beans) ซึ่งเป็นพืชในวงศ์เลกูมิโนเซ (Leguminosae) จากอาฟริกาตะวันตก เมล็ดถั่วคาลาบาร์นี้จะใช้กระบวนการทางกฎหมาย โดยผู้ที่ตกเป็นต้องสงสัยในคดีต่างๆต้องรับประทานยาที่ปรุงจากเมล็ดถั่วนี้ ถ้าสามารถรอดชีวิตได้จะถือว่าไม่มีความผิด การทดสอบนี้ทำเพื่อเป็นการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ มากกว่าเป็นการลงโทษ

       อีเซอรีน เป็นสารยับยั้งอะเซทิลโคลิเนสเทอเรส (acetylcholinesterase inhibitor) ตัวแรกที่เป็นที่รู้จัก โดยในหนู มีขนาดที่ทำให้ประชากร 50% ตาย หรือที่เรียกว่า แอลดี50 (LD50) เท่ากับ 4.5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยการกิน และ 0.64 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยการฉีดเข้าทางช่องท้อง

สูตรโครงสร้างทางเคมีทั่วไปของยาฆ่าแมลงกลุ่มคาร์บาเมต เป็นดังรูปข้างล่าง โดยส่วนใหญ่ของยาฆ่าแมลงมักจะมีสูตรโครงสร้างทั่วไปเป็นดังรูปทางซ้ายมือ ซึ่งเป็นการง่ายที่จะสังเกตหรือจดจำสารเคมีกลุ่มนี้ได้จากสูตรโครงสร้างทางเคมี

Read More

อักษรย่อเหล่านี้คือชื่อรูปแบบสูตรผสมแต่ละชนิด นิยมใช้ระบบอักษรย่อเป็นอักษรอังกฤษ 2 ตัว กำหนดโดยกลุ่มผู้ผลิตสารเคมีการเกษตรนานาชาติ หรือ GIFAP โดยแบ่งตามลักษณะทางกายภาพและการนำไปใช้งาน ยกตัวอย่างอักษรย่อดังต่อไปนี้ ได้แก่…..

EC: Emulsifiable Concentrate สูตรชนิดน้ำมันเข้มข้น เป็นของเหลวที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อทำการเจือจางด้วยน้ำก่อนนำไปใช้ จะได้สารอิมัลชั่นมีลักษณะขุ่นขาว

Read More

ธาตุรอง+จุลธาตุใช้ เกลือซัลเฟทที่มี น้ำเกาะอยู่ 5-7 ตัวเพื่อให้ละลายน้ำได้ดี

แมกนีเซียมซัลเฟท………..MgSO4.7H2O…..300 กรัม 4.8%
สังกะสีซัลเฟท……………..ZnSO4.7H2O……150 กรัม 5.25%
เหล็กซัลเฟท………………..FeSO4.5H2O……..50 กรัม 1.5%
แมงกานีสซัลเฟท………….MnSO4.5H2O…….50 กรัม 1.6%

ละลายในน้ำ 600-700 ซีซี. แล้วเติมน้ำให้ครบ 1 ลิตร

แคลเซียม + โบรอนใช้

แคลเซียมไนเตรท……..Ca(NO3)2 15-0-0+Ca19%…….320 กรัม
กรดบอริก………………H3BO3……….มี B17%……………120 กรัม

ละลายในน้ำ 500-600 ซีซี. แล้วเติมน้ำให้ครบ 1 ลิตร

อัตราการใช้ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร

สาหร่ายทะเลสกัด20% w/v ใน 1 ลิตรมีส่วนประกอบตามนี้

ผงสาหร่ายทะเลสกัด 200 กรัม
สารกันบูด (ทั่วไปใช้ ฟอร์มาลิน (สารดองศพ)——โซเดียมเบนโซเอท) แต่ของเราใช้ นิพาซอล เอ็ม ที่ใช้ในอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง ซึ่งมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และพืชมากกว่า ตามคำแนะนำของบริษัทแม่ในต่างประเทศ

วิธีทำ เตรียมน้ำ 700 ซีซี. ค่อยๆใส่ ผงสาหร่ายทะเลสกัดทีละน้อย คนให้ละลายให้หมด จนครบ 200 กรัม (เติมสารอื่นๆที่อยากจะใส่) เติมสารกันบูด เติมน้ำจนครบ 1 ลิตร

ส่วนประกอบใน B1 สารเรียกราก ปริมาณ 1 ลิตร ใช้

Vitamin B1 (จากยาสัตว์)…….. 5 กรัม
NAA 4.5% w/v………..……25 ซีซี. (Naphthalene Acetic Acidเป็นออกซินที่สังเคราะห์ขึ้นมาใช้ เพราะมีความคงตัวสูง แทน IAAและ IBA)
Trace element…………….50 กรัม

ควรปรับน้ำที่ใช้ผสมให้มี pH 5.0 ก่อนผสม…..

1.ผสมโบรอน(กรดบอริก17%)  50 กรัม กับน้ำอุ่น(ประมาณ60องศา) 0.5 ลิตร คนให้ละลาย ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชม. ให้น้ำใส (หมายเหตุ บอแรกซ์ใช้ไม่ได้นะครับ ปุ๋ยจะตกตะกอนครับ ลองมาแล้ว ทิ้งหมดเลยครับ “โดนมาเยอะ เจ็บมาเยอะ” )
2.ผสมแคลเซียมไนเตรท(แคลเซียม25%) จำนวน 500 กรัม กับน้ำสะอาด 0.5 ลิตร คนให้ละลาย
3.แล้วกรองส่วนผสมทั้ง 2 มาผสมกันอีกครั้ง(รวมเป็น 1 ลิตร)
4.ผสมน้ำตาลทางด่วน(ถ้ามี) โดยใช้น้ำตาลกลูโคสแบบผงที่ขายกันตามร้านขายยา(กระปุก 400 กรัม ราคาประมาณ50-70 บาท) ผสมลงไป 100 กรัม จะช่วยให้พืชดูดปุ๋ยได้เร็วขึ้น และได้สารอาหาร(น้ำตาล)จากกลูโคสอีกด้วย จะได้ปุ๋ยที่มีความเข็มข้นที่ แคลเซียม 12% และโบรอน 0.85% บรรจุในภาชนะปิดฝา และเก็บไว้ในที่ร่ม เก็บไว้ใช้ได้นาน 1-2 ปี
*เปอร์เซนต์ของโบรอนไม่ได้น้อยเกินไปนะครับ เพราะจากที่มีการศึกษาวิจัยมาพืชจะต้องการโบรอนไม่มากไปกว่านี้
-วิธีใช้ ผสมแคลเซียมโบรอนที่ได้ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร(ไม่ควรใช้เข้มข้นกว่านี้ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงแก่พืชได้) ใช้ฉีดพ่นพืชได้ในทุกระยะ
-ประโยชน์ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับพืช ทนต่อโรคและเชื้อรา เพิ่มการแตกตายอด-ดอก ขยายรังไข่ในดอก ผสมเกสรติดง่าย ผลดก ขั้วดอก-ผลเหนียว เปลือกหนา ป้องกันผลร่วง ผลแตก ช่วยในการขยายผลให้ผลใหญ่ เนื้อแน่น เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มรสชาติที่ดีให้กับผลผลิต