อะบาเม็คติน

(abamectin)

การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดไรและแมลงที่ประกอบด้วยสาร  macrocyclic  lactone  glycoside  ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการหมัก  (fermentation)  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส

ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  10  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคืองได้เล็กน้อย

ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนใยผัก  หนอนม้วนใบ  ไรสนิม  ไรแดงและไรอื่น ๆ  ด้วงมันฝรั่ง  มดคันไฟ  และแมลงอื่น ๆ

พืชที่ใช้                             ส้มเขียวหวาน  ส้มโอ  ฝ้าย  มันฝรั่ง  พืชผักและไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                  1.8%  อีซี

อัตราการใช้               กำจัดแมลงศัตรูผักใช้อัตรา  20  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

กำจัดแมลงศัตรูส้ม  ใช้อัตรา  10  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

กำจัดแมลงศัตรูพืชอื่น ๆให้ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก

วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช      เมื่อตรวจพบว่ามีศัตรูพืช  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ            จะมีอาการม่านตาหรี่  หายใจไม่ออก  ไม่ค่อยรู้สึกตัว  ในรายที่มีอาการรุนแรง  ผู้ป่วยอาจเซื่องซึม  กล้ามเนื้อกระตุกและเกิดอาการชัก

การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด  จำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ  1-2  แก้วทันทีและรีบทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว  ห้ามทำให้อาเจียนหรือให้สิ่งของทางปาก  รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  ต้องรักษาตามอาการที่ปรากฏ  หากผู้ป่วยกินวัตถุมีพิษเข้าไป  ทำให้อาเจียนภายใน  30  นาที  หลีกเลี่ยงการให้ยา  barbiturates,benzodiazepines,  และ  valproic  acid

ข้อควรรู้                    – เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

– เป็นสารที่ได้จากการหมักเชื้อจุลินทรีย์ในดิน  ชื่อ  Steptomyces  avermitilis

– ออกฤทธิ์ได้ช้า  ไรจะเคลื่อนไหวไม่ได้ภายหลังจากที่ถูกกับสารนี้

– มีความคงตัวและติดกับใบพืชได้แน่น

Read More

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

หนอนใยผัก เป็นหนอนศัตรูที่สำคัญและก่อให้เกิดความเสียหายกับพืชตระกูลกะหล่ำ มักพบระบาดทั่วไปตามแหล่งปลูกผักทั่วโลก แม้ว่าหนอนใยผักมีต้นกำเนิดมาจากเขตร้อนแต่ก็สามารถพบหนอนใยผักมีชีวิตอยู่ ได้ในเขตหนาวโดยไม่มีการพักตัว สำหรับในประเทศไทยนั้นมักพบหนอนใยผักระบาดเป็นประจำตามแหล่งปลูกผักทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากหนอนชนิดนี้มีวงจรชีวิตสั้น มีการแพร่พันธุ์และขยายพันธุ์รวดเร็ว และมีการพัฒนาการวางไข่ได้เร็ว คือ หลังออกจากดักแด้ภายใน 1 วัน สามารถวางไข่ได้ทันทีและวางไข่ได้ตลอดชีวิต ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมและมีพืชอาหารตลอดปี จึงเป็นสาเหตุให้พบการระบาดของหนอนใยผักตระกูลกะหล่ำดังกล่าวอยู่เสมอ ๆ ปัจจุบันหนอนใยผักได้มีการพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้รวดเร็วและ หลายชนิด จึงเป็นการยากต่อการป้องกันกำจัดด้วยการใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นเป็นประจำเพียง อย่างเดียว ดังนั้นจึงต้องใช้หลายๆ วิธีผสมผสานกันจึงสามารถลดการระบาดของหนอนใยผักลงได้

Read More

ไนโตรเฟน

(nitrofen)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  diphenyl  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอกในธัญพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  ประมาณ  3,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  มากกว่า  2,000  มก./กก.  อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและหญ้าต่าง ๆ

พืชที่ใช้                                   ธัญพืช  ข้าว  ผัก  ไม้ดอกและไม้ประดับ

สูตรผสม                                 8%  จี  และ  25%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – พืชที่อ่อนแอต่อสารกำจัดวัชพืชนี้  คือ  ผักกาดหอม  มะเขือเทศ  ผักโขม  มะเขือ  และพริกไทย

– เป็นพิษต่อปลา

– ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Read More

ไดคลอร์พรอพ – พี

(dichlorprop – P)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีความใกล้เคียงกับ  2,4-ดี

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  825  มก./กก.  แต่น้อยกว่า 1,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  4,000  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    กำจัดวัชพืชใบกว้าง  ไม้พุ่มและวัชพืชน้ำ

พืชที่ใช้                                   ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ธัญพืช  ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และตามไหล่ทาง-ถนน

สูตรผสม                                 60%  เอเอส

การแก้พิษ                               ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานมาก ๆ  แล้วไปพบแพทย์  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ทำให้คนไข้อาเจียนแล้วรักษาตามอาการ

Read More

ทู โฟ – ดี

(2,4-D)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  phenoxy  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์กำจัดวัชพืชใบกว้างภายหลังงอกทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (oral  LD  50)  375  มก./กก.  ทางผิวหนังมากกว่า  1,600  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    ผักปอด  ผักตบชวา  ตาลปัตรยายชี  พังพวย  ผักบุ้ง  ผักโขม  โทงเทง ผักเบี้ยหมู  ผักเบี้ยหิน  หญ้ายาง  ต้นไม้กวาด  กก  กกขนาก  แห้วหมู  เทียนนา โสน  สะอึก  และวัชพืชใบกว้างอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ใช้กำจัดวัชพืชในนาข้าว  ไร่ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  อ้อย  หน่อไม้ฝรั่ง สตรอเบอร์รี่  สนามหญ้าและบริเวณที่ไม่ได้ทำการเกษตร

สูตรผสม                                 2,4-ดี  มีสูตรผสมหลายอย่าง  คือ

– ชนิด  sodium  และ  ammonium  salts  ปกติจะอยู่ในรูปผงละลายน้ำ  (WP)  มีความเข้มข้น  80-95%

– ชนิด  amine  salts  มีความเข้มข้น  72%  อีซี

– ชนิด  highly  volatile  esters  (Methyl , Ethyl , Butyl , Isopropyl)  มีความเข้มข้น  72%  อีซี

– ชนิด  Low  volatile  esters  (Butoxy  ethanol , propylene glycol , Butoxy  propyl)

อัตราใช้และวิธีใช้                  2,4-ดี  Na  Salt  ใช้อัตรา  30-40  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ชนิด amine  salt  และ  high  volatile  esters  ใช้อัตรา  30-60  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20 ลิตร  ฉีดพ่นที่ใบวัชพืชให้ทั่วบริเวณที่ต้องการกำจัดวัชพืช  ควรศึกษารายละเอียดจากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้

อาการเกิดพิษ                          ผู้ได้รับพิษจะมีอาการ  ปวดศีรษะ  เหงื่อออกมาก  อ่อนเพลีย คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดท้อง  ท้องเสีย  เบื่ออาหาร  ตาพร่า  พูดไม่ชัด  น้ำลายออกมาก  กล้ามเนื้อกระตุก  ปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งกระตุ้นต่ำ  กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กล้ามเนื้อเปลี้ย  ต่อมาอาจชัก  หมดสติและตายเนื่องจากหัวใจและระบบเลือดล้มเหลว

การแก้พิษ                               ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากหรือมีอาการเกิดพิษรุนแรงให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  รักษาตามอาการ  ให้คนไข้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด  ซาร์โคล  แล้วล้างท้องด้วย  ไอโซโทนิค  ซาลีน  หรือ  โซเดียม  ไบคาร์โบเนท  5% ควบคุมการเต้นของหัวใจ

ข้อควรรู้                                  – ห้ามใช้กับฝ้าย  มะเขือเทศ  องุ่น  ไม้ผลและไม้ประดับ

– อย่าฉีดพ่นใกล้ต้นพืชที่ปลูก

– ในดินที่มี  2,4-ดี  มากเกินไป  จะทำให้เมล็ดหยุดงอกและหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราว

– ก่อนที่จะใช้เครื่องมือฉีดพ่น  2,4-ดี  ไปใช้ฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่น  ควรล้างทำความสะอาดอย่างละเอียดก่อนนำไปใช้

– ใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับปุ๋ยได้

Read More

เพ็นไซคูรอน

(pencycuron)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  phenylurea  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์เมื่อสัมผัสถูก  และ  ให้ผลในทางป้องกันมิให้เกิดโรคพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า 2,000  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคที่เกิดจากเชื้อ  Rhizoctonia  spp.  และ  Pellicularia  spp.  โรคเน่าคอดิน  โรคกาบใบไหม้และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   มันฝรั่ง  ข้าว  ไม้ดอก  ไม้ประดับและพืชอื่น ๆ

สูตรผสม                                 25%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ                               ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน  รักษาตามอาการที่ปรากฏ

ข้อควรรู้                                  – ถ้าใช้ตามคำแนะนำจะไม่เป็นพิษต่อต้นพืช

– เป็นพิษต่อปลา

– ไม่กำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อ  Pythium  spp.  และ  Fusarium spp.

– ผสมกับสารกำจัดเชื้อราอย่างอื่นได้เพื่อให้สามารถกำจัดโรคพืชได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

Read More