1. เครื่องวัด EC

มักพบว่าเครื่องวัด EC ที่ผู้ปลูกใช้อยู่เสื่อมสภาพหรือถ่านมีกำลังไฟอ่อนทำให้ค่า EC ขึ้นช้าหรือ ต่ำกว่าค่าจริงของสารละลายธาตุอาหารที่ใช้ปลูกเช่นวัด EC ด้วยเครื่องวัด EC ที่ผู้ปลูกใช้อยู่เป็นปร…ะจำได้ค่า EC เท่ากับ 1.3 แต่ผักที่ปลูกอยู่แสดงอาการเกร็งโตช้าเหมือนกับอาการผักที่ปลูกด้วย EC สูง ๆ แต่พอผู้เขียนใช้เครื่องวัด EC ของผู้เขียนวัดค่า EC ของสารละลายธาตุอาหารก็พบว่า EC ขึ้นไปสูงถึง 3.5 ซึ่งเป็น EC ที่สูงเกินไปสำหรับการปลูกผักสลัด EC ขนาดนี้จะทำให้ผักสลัดโตช้ามีรสขมและผักจะเเข็ง

Read More

เมล็ดพันธุ์ผักที่มีจำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. เมล็ดแบบไม่เคลือบ

เมล็ดประเภทนี้จะผ่านการลดความชื้นมาแล้ว สามารถเก็บรักษาในตู้เย็นได้นาน ประมาณ 1 – 2 ปี และมีราคาถูกกว่าเมล็ดแบบเคลือบค่อนข้างมาก การเพาะเมล็ดแบบไม่เคลือบนี้แนะนำให้กระตุ้นการงอกโดยใช้กล่องถนอมอาหารที่มีฝาปิดสนิท รองด้านในด้วยกระดาษชำระประมาณ 2 ชั้นแล้วพรมน้ำให้กระดาษเปียก และเทน้ำออก จากนั้นให้นำเมล็ดสลัดมาโรยลงบนกระดาษชำระ โดยไม่ต้องพรมน้ำซ้ำ แล้วปิดฝากล่องให้สนิท (แนะนำให้นำไปวางไว้ในที่มีอุณหภูมิต่ำ เช่น ห้องปรับอากาศ) ประมาณ 24 – 48 ชั่วโมงเมล็ดจะเริ่มงอกให้ย้ายลงวัสดุปลูกได้เลยครับ อย่าปล่อยให้เกิน 72 ชั่วโมง (3 วัน) เพราะรากผักสลัดจะยาวเร็วมากและทำให้ย้ายปลูกได้ยาก การกระตุ้นการงอกด้วยวิธีนี้จะทำให้เมล็ดที่เราเพาะมีเปอร์เซ็นต์การงอกและความสม่ำเสมอของการงอกสูงขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากเชื้อโรคที่จะเข้าทำลายเมล็ดจากการเพาะเมล็ดลงวัสดุปลูกโดยตรง ให้ผักที่ปลูกมีความสม่ำเสมอของต้นที่เท่ากัน มากกว่าการเพาะลงในวัสดุปลูกโดยตรง  เนื่องจากการเพาะลงวัสดุปลูกโดยตรงนั้นเมล็ดสลัดมีความเสี่ยงที่จะถูกทำลายโดยเชื้อโรคหรือแมลง อีกทั้งผู้ปลูกยังควบคุมปัจจัยการงอกของเมล็ดได้ยากกว่าด้วย

Read More

การปลูกผักแต่ละชนิดผู้ปลูกควรศึกษาให้เข้าใจถึง ลักษณะเฉพาะของผัก  รวมทั้งการบำรุงและดูแลรักษา เพื่อให้ผักที่ปลูกเจริญงอกงาม  ผู้ปลูกจึงควรรู้เคล็ดลับ ในการปลูกซึ่งผักแต่ละกลุ่มแต่ละชนิดก็มีเคล็ดลับที่แตกต่างกันออกไป

1. กลุ่มกะหล่ำ และผักกาด 
 คือกลุ่มที่เรากินใบ ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหัว กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี บร๊อกโคลี ผักสลัดต่างๆ
 ผักกลุ่มนี้เมล็ดค่อนข้างเล็ก บางชนิดมีราคาแพงมาก เพราะต้องสั่งนำเข้าเมล็ดมาจากต่างประเทศ
 กดดินให้เป็นหลุมลึกครึ่งเซนติเมตร แต่ละหลุมห่างกัน 20 เซนติเมตร หยอดเมล็ดลงไป 5-7 เมล็ด กลบดินทับบางๆ คลุมด้วยฟางหนา 1 เซนติเมตร รดน้ำ
 เมื่อต้นกล้างอก ใบจริงได้ 2-3 ใบ ถอนต้นอ่อนให้เหลือหลุมละ 3 ต้นเมื่อมีใบจริง 4 ใบถอนเหลือ 2 ต้น ใบจริง 5 ใบถอนเหลือ 1 ต้นที่แข็งแรงที่สุด (ต้นอ่อนที่ถอนออกสามารถนำมากินได้เลย กรอบและอร่อยมาก)
 ผักในกลุ่มนี้ชอบความชื้นสูงควรรดน้ำให้ชุ่ม อย่าปล่อยให้แห้ง โดยเฉพาะผักสลัดให้ตั้งกระถางในที่ร่ม
 ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว แต่ละชนิดต่างกันเล็กน้อย เช่น คะน้า กวางตุ้งเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 30-45 วัน ผักกาดหัว 45-55 วัน ผักกาดขาวปลี เขียวปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี 50-60 วัน ผักสลัด 45-50วัน
 ช่วงฤดูหนาวให้ เก็บผักโดยเหลือใบไว้กับต้น 2-3 ใบ ผักจะงอกใบใหม่ให้เก็บได้อีก 2-3 ครั้ง

Read More