ในปัจจุบันพบว่าธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมี 17 ธาตุ คือ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S) เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) ไมลิมดีนัม (Mo) โบรอน (B) คลอรีน (Cl) และนิเกิล (Ni) นอกจากธาตุ C H และ O ซึ่งพืชได้รับจากอากาศและน้ำในรูป CO2 O2 และ H2O แล้วธาตุที่เหลือจำเป็นต้องมีอยู่ในสารละลายในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ ความเข้มข้นที่เหมาะสมของธาตุอาหารแต่ละธาตุขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ระยะการเจริญเติบโต และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการเจริญเติบโตต่างๆ ช่วงความเข้มข้นของสารละลายที่มีผู้รายงานว่าเหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของพืชชนิดต่างๆ จึงแปรปรวนอยู่ในช่วงกว้าง (ตารางที่ 5-1)

Read More

Stock    สูตรเคมี    ชื่อปุ๋ย    จำนวน (g)
A    CaNO3    Calcium Nitrate แคลเซียมไนเตรด               1500 g
A    Fe – DP    เหล็กคีเลต ( Fe – DP ) 7% หรือเหล็กแดง      50 g
A    H3BO3    ผงจุลธาตุโบรอน 17% กรดบอริก              10 g
A    CH4N2O    Urea-Low Biuret ยูเรีย                              10 g
B    KNO3    Potassium Nitrate โพแทสเซียมไนเตรด      300 g
B    KH2PO4    Monopotassium phosphate (MKP) โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต    200 g
B    MgSO4    แมกนีเซียมซัลเฟต                              800 g
B    MnSO4    แมงกานีสซัลเฟต  Mn 32 %                      1 g
B    ผงจุลธาตุคีเลตรวมธาตุอาหารรอง+เสริม RMX 25              30 g
B    NaCl    เกลือแกง                                                      10 g

ปริมาณธาตอาหารทั้งหมด (กรัม)    2911
ผสมน้ำ 10 ลิตร อัตราส่วน 1 ต่อ 200
ผสมน้ำ 20 ลิตร อัตราส่วน 1 ต่อ 100

สูตรที่ผมใช้นี้ยังไม่เสถียรนักจะต้องปรับแต่งหน้างานอีก
– หากสภาพอากาศเปิด (แสงเต็มที่เกิน 6 ชั่วโมง) ให้เติม Calcium Nitrate 1 กำมือต่อน้ำสารละลาย 50 ลิตร
– หากผักใบเหลืองให้เติมเหล็กเพิ่ม หรือเปลี่ยนไปเติมเหล็ก 4 % แทน
– หากผักใบเป็นจุดเล็กๆให้เติมจุลธาตุคีเลตรวมเพิ่ม

พริกมัน

พันธุ์ของพริกหนุ่ม 1. พันธุ์แทงโก้ พริกมันแดงพันธุ์ลูกผสม แตกพุ่มดี ผลดก ผลอ่อนสีเขียวเข้มเมื่อแก่สีแดงเข้ม ความยาวผล 9-12 เซนติเมตร เก็บเกี่ยวครั้งแรกเมื่ออายุ 60-70 วันหลังย้ายปลูก เหมาะสำหรับบริโภคสดและส่งโรงงานอุตสาหกรรม 2. พันธุ์ 7216 พริกมันแดงพันธุ์ลูกผสม 3. พันธุ์ไวต้าเอส พริกหนุ่มเขียว 4. พันธุ์จอมทอง 2 พริกหนุ่มเขียว 5. พันธุ์สะบันงา พริกหนุ่มขาว 6. ซุปเปอร์ฮอท สีแดงเข้ม เนื้อหนา รสเผ็ด นิยมบริโภคสด

มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก มีวิตามินซี วิตามินเอ

รสเผ็ด ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). พริกขี้หนู พริกหนุ่ม พริกมัน. ค้นวันที่ 10 สิงหาคม 2550 จากhttp://www.doae.go.th/LIBRARY/html/detail/paddy/A23.htm

สถาบันการแพทย์แผนไทย. (2550). อาหารพื้นเมืองไทย. ค้นวันที่ 20 สิงหาคม 2550 จากhttp://ittm.dtam.moph.go.th/data_articles/thai_food/thai_fd19.htm

 

เชื้อราบิวเวอร์เรีย ( Beauveria bassiasna ) เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง ซึ่งสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด

Read More

ใช้สำหรับเตรียมสารละลาย 1000 ลิตร

สูตรที่ 1 ผักสลัด

A กรัม
แคลเซียมไนเตรท 656
เหล็กคีเลท 40
B
โปแตสเชียมไนเตรท 606
แมกนีเซียมซัลเฟต 490
แอมโมเนียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต 115
แมงกานีสคลอไรด์ 1.81
กรดบอริก 2.86
ซิงค์ซัลเฟต 0.22
คอบเปอร์ซัลเฟต 0.05
โมลิบดินัม 0.02

Read More



สูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์เมล่อนเพื่อการค้า ปลูกในระบบวัสดุปลูก (substrate culture) 

วิธีการผสมปุ๋ยครั้งเดียวใช้ได้ตอลดทั้ง 4 ระยะการเจริญเติบโต 

Read More

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หมายถึง วิธีการปลูกพืชเพื่อให้พืชได้รับสารละลายธาตุอาหารจากทางรากพืช โดยที่สารละลายธาตุอาหาร จะประกอบไปด้วยน้ำผสมกับธาตุอาหารที่พืชต้องการ  สามารถจำแนกการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินได้ 2 ระบบหรือวิธีการปลูก คือ

1. ซับสเตรทคัลเจอร์ (Substrate Culture) เป็นการปลูกพืชลงบนวัสดุปลูกชนิดต่างๆที่ไม่ใช่ดินซึ่งวัสดุที่ใช้ปลูกแทนดินมีหลายชนิด เช่น วัสดุปลูกเป็น “อนินทรียสาร” และ “อินทรียสาร” โดยพืชสามารถเจริญเติบโตบนวัสดุปลูกจากการได้รับสารละลายธาตุอาหาร ที่มีน้ำผสมกับธาตุอาหารที่พืชต้องการทางรากพืช

2. ไฮโดรโพนิกส์ (Hydroponics) เป็นการปลูกพืชที่ไม่ใช้วัสดุปลูก โดยที่จะปลูกพืชให้รากพืชสัมผัสลงบนสารละลายธาตุอาหารพืชโดยตรง

ขั้นตอนและวิธีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

Read More