EC TDS ความสัมพันธ์

ค่า EC และ TDS สัมพันธ์กันอย่างไร

ค่า ความนำไฟฟ้า (EC) และ ค่าทีดีเอส (TDS) มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างมาก แต่มันไม่ใช่ค่าเดียวกัน  Total Dissolved Solids (TDS) และ Electrical Conductivity (EC) แตกต่างกันคือ TDS คือค่าผลรวมของของแข็งทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ ส่วนค่า EC คือ ความสามารถในการนำไฟฟ้า ในที่นี้ คือ ความสามารถของน้ำในการนำไฟฟ้า

วิธีสำหรับการวัดค่า TDS คือ การทำให้น้ำระเหยออกแล้วชั่งน้ำหนักสิ่งที่เหลือหลังจากการระเหย เราจะเห็นสิ่งที่แห้งติดอยู่บนกระจกหลังน้ำระเหย นั่นคือค่า TDS ซึ่งสามารถชั่งน้ำหนัก เพื่อคำนวนค่าออกมา แต่วิธีการนี้ไม่ง่ายหากไม่ได้ทำในห้องปฎิบัติการณ์

Read More

“น้ำอ่อน” เป็นน้ำที่มีค่า EC ต่ำกว่า 0.2 ลงไปน้ำที่จัดอยู่ ในกลุ่มน้ำอ่อนมี ดังนี้
1.น้ำฝนมีค่า EC ประมาณ 0.1
1.1 น้ำฝนที่ตกลงมาแล้วไหลเป็นน้ำตกมีค่า EC ประมาณ 0.1-0.2
1.2 น้ำฝนที่ตกลงมาแล้วซึมลงใต้ดินหรือบาดาล ซึ่งเรียก ว่า “น้ำบาดาล” ที่เราดูดขึ้นมาใช้มีค่า EC ประมาณ 0.1-0.2
1.3 น้ำฝนที่เรารองเก็บไว้ตามบ่อเก็บน้ำมีค่า EC ประมาณ 0.1-0.2

Read More

ค่า pH (Potential of Hydrogen ion)

ค่า pH  ในความหมายของการปลูกพืชไร้ดิน คือค่าความเป็นกรด-เบส ของสารละลาย (น้ำผสมธาตุอาหารที่ใช้ในการปลูกพืช)  โดยค่า pH จะมีช่วงการวัดอยู่ที่ 1 – 14  โดยจะนับค่าที่ 7 เป็นกลาง กล่าวคือ หากวัดค่าได้ต่ำกว่า 7 แสดงว่าของเหลวนั้นเป็นกรด หากวัดได้สูงกว่า 7 ขึ้นไปแสดงว่าเป็นเบส

สำหรับการปลูกพืชด้วยน้ำนั้นค่า pH มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการทำปฎิกิริยาทางเคมีกับธาตุอาหารที่ใช้เลี้ยงพืช โดยธรรมชาติน้ำที่มีความเป็นกรดจะทำให้ธาตุอาหารพืชละลายตัวได้ดี และพืชสามารถดูดซึมไปใช้งานได้อย่างสะดวก  แต่ถ้าหากน้ำที่ใช้ผสมธาตุอาหารพืชมีความเป็นเบสสูงจะทำให้ธาตุอาหารพืชตกตะกอนจนพืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้งานได้

ดังนั้น การปรับค่า pH ผู้ปลูกจะต้องปรับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับอายุการปลูกและชนิดของพืชนั้นๆ ด้วย โดยปกติค่า pH ที่ใช้ในการปลูกพืชจะมีค่าอยู่ในช่วง 5.5 – 7.0 แต่ค่าที่ดีที่สุดต่อการละลายตัวของธาตุอาหารพืชจะอยู่ที่ 5.8 – 6.3
การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์นั้นจะมีการกำหนดค่า pH ของการปลูกพืชเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (ระยะเจริญเติบโต)              อยู่ในช่วงวันที่   1 – 28      กำหนดค่า pH อยู่ที่ 5.8 – 6.5
ระยะที่ 2 (ระยะสร้างผลผลิต)            อยู่ในช่วงวันที่ 29 ขึ้นไป    กำหนดค่า pH อยู่ที่ 6.5 – 7.0

Read More

ส่วนมากการสอนของอาจารย์ทั่วๆ ไปจะพูดว่าปรับ EC ปรับ pH แต่เวลาทำจริงๆ แล้วเรานิยมปรับ pH ก่อนปรับ EC เพราะเมื่อก่อนน้ำที่ใช้ปลูกกำหนดให้เป็นน้ำ RO น้ำปะปา และน้ำฝนเท่านั้น เพราะเข้าใจว่าน้ำอย่างอื่นจะไม่สามารถ ปลูกผักได้ดีแต่ปัจุบันเรามีความรู้มากขึ้นทำให้เราปลูกด้วยน้ำอื่นๆ ได้แต่น้ำบางที่มี pH ที่สูงมากๆ เมื่อเราใส่ปุ๋ยไปก่อน เพื่อปรับ EC ก็จะทำให้ปุ๋ยตกตะกอน อย่างน้ำที่จังหวัดสระ เเก้วที่ผมไปพบมากับตัวเองตอนไปเป็นวิทยากรกับอาจารย์ วีรพล ดังนั้นเราจึงต้องปรับ pH ก่อน  แต่ก่อนอ่านวิธีปรับ pH ให้คุณอ่านในสมุดบันทึกหัวข้อที่ 29. น้ำอ่อน ก่อน
ในวิธีปรับนี้เราจะสมมติว่าผู้ปลูกมีโต๊ะปลูกที่เหมือนกันทุกอย่างอยู่ 2 โต๊ะ

Read More

อสังเกตุ#

– นิคสเปรย์ ลิบเบล-พลัส ยูนิเลท และ RMX34 จะมีธาตุอาหารค่อนข้างครบ ในสัดส่วนแตกต่างกันออกไป
– Haifa Micro Combi ไม่มีแมกนีเซียม (Mg) และโบรอน (B) แต่อัดธาตุเหล็กและโมลิบดีนั่ม มาอย่างเยอะ
– Dissolvine ABC ไม่มีสังกะสี (Zn)

หมายเหตุ
– ธาตุแม็กนีเซียม ใน นิคสเปรย์ มาจาก แม็กนีเซียมซัลเฟต (ระบุบนกล่องขนาด 25 กก. ว่า as Magnesium Sulfate)