1.ผสมโบรอน(กรดบอริก17%)  50 กรัม กับน้ำอุ่น(ประมาณ60องศา) 0.5 ลิตร คนให้ละลาย ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชม. ให้น้ำใส (หมายเหตุ บอแรกซ์ใช้ไม่ได้นะครับ ปุ๋ยจะตกตะกอนครับ ลองมาแล้ว ทิ้งหมดเลยครับ “โดนมาเยอะ เจ็บมาเยอะ” )
2.ผสมแคลเซียมไนเตรท(แคลเซียม25%) จำนวน 500 กรัม กับน้ำสะอาด 0.5 ลิตร คนให้ละลาย
3.แล้วกรองส่วนผสมทั้ง 2 มาผสมกันอีกครั้ง(รวมเป็น 1 ลิตร)
4.ผสมน้ำตาลทางด่วน(ถ้ามี) โดยใช้น้ำตาลกลูโคสแบบผงที่ขายกันตามร้านขายยา(กระปุก 400 กรัม ราคาประมาณ50-70 บาท) ผสมลงไป 100 กรัม จะช่วยให้พืชดูดปุ๋ยได้เร็วขึ้น และได้สารอาหาร(น้ำตาล)จากกลูโคสอีกด้วย จะได้ปุ๋ยที่มีความเข็มข้นที่ แคลเซียม 12% และโบรอน 0.85% บรรจุในภาชนะปิดฝา และเก็บไว้ในที่ร่ม เก็บไว้ใช้ได้นาน 1-2 ปี
*เปอร์เซนต์ของโบรอนไม่ได้น้อยเกินไปนะครับ เพราะจากที่มีการศึกษาวิจัยมาพืชจะต้องการโบรอนไม่มากไปกว่านี้
-วิธีใช้ ผสมแคลเซียมโบรอนที่ได้ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร(ไม่ควรใช้เข้มข้นกว่านี้ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงแก่พืชได้) ใช้ฉีดพ่นพืชได้ในทุกระยะ
-ประโยชน์ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับพืช ทนต่อโรคและเชื้อรา เพิ่มการแตกตายอด-ดอก ขยายรังไข่ในดอก ผสมเกสรติดง่าย ผลดก ขั้วดอก-ผลเหนียว เปลือกหนา ป้องกันผลร่วง ผลแตก ช่วยในการขยายผลให้ผลใหญ่ เนื้อแน่น เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มรสชาติที่ดีให้กับผลผลิต

ไนโตรเจน ใบมีสีเขียวจางแล้วเหลือง โดยเฉพาะใบแก่ที่อยู่ตอนล่างของพืช ต้นพืชโตช้า ผลรากหรือส่วนที่สะสมอาหารมีขนาดลดลง

       ฟอสฟอรัส ใบมีลักษณะสีม่วงแดงบนแผ่นใบ เส้นใบ และลำต้นจะเห็นเด่นชัด ทางด้านใต้ใบสำหรับฝั่งใบจะมีสีทึบเข้ม ขอบใบม้วนงอไหม้ ต้นโตช้า ผอมสูง มีไฟเบอร์มาก ทำให้หยาบแข็ง ค่อนข้างจะสุกหรือแก่ช้ากว่าปกติ

       โพแทสเซียม ลักษณะอาการที่ใบคือ ขอบใบจะม้วนงอ ใบจะแห้งเป็นมัน มีจุดสีน้ำตาลอยู่ทั่วไป พบเห็นชัดเจนในใบตอนที่อยู่ส่วนล่าง ๆ ของต้นพืช ลักษณะอาการในต้นพืชคือ ต้นโตช้า อาการที่ผลราก ผลสุกไม่สม่ำเสมอ ถ้าเป็นมะเขือเทศเนื้อจะเละ

Read More

In the time plants have evolved on Earth, they have adapted to utilise five major resources in order to grow. These are

Light, Water, Oxygen, Carbon Dioxide, and mineral elements. From these, plants can synthesise a wide range of

organic molecules required for life. Of these five factors, it is the mineral element requirements of plants which we aim

to provide through the use of hydroponic or soilless culture, and under optimum conditions of light and temperature the

productivity of crops is largely dictated by the mineral composition in the root zone.

As hydroponic growers and suppliers, it is therefore worth taking a look at what elements are actually required for

plant growth, what their purpose is inside the plant, and what levels and ratios are most appropriate for optimising

plant growth in a range of conditions.

Read More

ผงแคลเซียม-แม็กนีเซียม โบรอน พลัส สำหรับเตรียมเป็นสต็อคไว้ใช้เอง ประหยัดกว่า

ส่วนผสม

โบรอน 17% (บอริกแอซิด USA) 400 กรัม

15-0-0 แคลเซียมไนเตรต 1200 กรัม

11-0-0 แม็กนีเซียมไนเตรต 1000 กรัม

ผงจุลธาตุคีเลตรวม 100 กรัม

น้ำตาลกลูโคส (น้ำตาลทางด่วน) 100 กรัม

Read More

E.C 1.0-1.8 pH 5.2-6.5

STOCK A 10 ลิตร
แคลเซียมไนเตรท (15-0-0)            1150 กรัม
เหล็ก ดีพี ( Fe-EDDHA 7%)             20 กรัม
เหล็กเวสโก้ ( Fe-EDTA 13.2%)       40 กรัม

STOCK B 10 ลิตร
โปแตสเซียมไนเตรท ( 13-0-46)         600 กรัม
แมกนีเซียมซัลเฟต                          500 กรัม
โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต ( 0-52-34)   265 กรัม
นิค-สเปรย์                                   50 กรัม
แมงกานิส อีดีทีเอ ( Mn-EDTA 13 %)    10 กรัม

ปุ๋ยที่ใช้ในระบบผักไฮโดรโปนิกส์หลักๆจะมี A และ B สำหรับบางสูตรที่มี C D E ที่เห็นจะปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่ผักสลัด
ผมขอกล่าวถึงปุ๋ยที่มี A และ B เท่านั้นครับ ปุ๋ยจะมี 2 สีคือ สีแดง และสี เขียว
ซึ่งสีที่เราเห็นโดดเด่นของปุ๋ยจะมาจากคีเลตที่ใส่ลงไปเป็นส่วนผสม ซึ่งส่วนผสมอื่นก็มีสีบ้างเล็กน้อยพออย่างสีขุ่น สีเหลืองจางๆ แต่พอไปรวมกับสีที่มาจากคีเลตแล้วก็จะเห็นเพียงสีของคีเลตที่โดดเด่นออกมาเท่านั้น

ปุ๋ยสีเขียว ได้จากจุลธาตุที่เป็นคีเลต คือ นิค-สเปรย์
ปุ๋ยสีแดง (บางที่เป็นสีเหลือง) ได้จากเหล็กคีเลต ได้แก่ Fe-EDTA Fe-DTPA SP-EDDHA (Fe-HEDTA ไม่นิยมใช้เนื่องจากเสื่อมสภาพง่าย)

Read More

ฟอสฟอรัส P ต้นแคระแกร็น ใบเล็ก เหลือง ลำต้นเล็กลง ใบล่างเริ่มมีสีม่วงตามแผ่นใบ ดอกผลน้อย รากไม่เจริญ
ไนโตรเจน N ลำต้นและรากแคระแกร็น ใบเล็กเหลืองซีด ร่วงง่าย แตกกิ่งก้านน้อย ถ้าขาดมากๆ จะเหลืองซีดไปทั้งต้นและอาจทำให้ตายได้
โปตัสเซียม K ใบแก่มีอาการไหม้เริ่มจากที่ปลายใบ แผ่นใบจะโค้งลงหรือม้วนจากปลายใบ ใบอ่อนจะมีจุดประสีแดงหรือเหลืองระหว่างเส้นใบ คุณภาพของดอกและผลลดลง
แมกนีเซียม Mg ใบแก่มีลักษณะเหลืองซีด ระหว่างเส้นใบมีสีขาวหรือเหลือง ใบร่วงเร็ว การเจริญเติบโตช้าลง ปริมาณและคุณภาพของดอกผลต่ำ
กำมะถัน S ใบยอดมีขนาดเล็ก สีเหลืองซีด เส้นใบยังคงมีสีเขียว
แคลเซียม Ca ใบอ่อนบิดเบี้ยว ขอบใบม้วนลง ขอบใบไม่เรียบ ขาดและแห้ง ยอดอ่อนตาย
คลอรีน Cl ใบเหี่ยวง่าย เหลืองด่าง พืชทั่วไปมีคลอรีนพอเพียงจึงไม่พบปัญหาของการขาดคลอรีน
โมลิบดินั่ม Mo ขอบใบโค้งหงิกงอ มีจุดเหลืองด่างตามขอบใบ
สังกะสี Zn ใบอ่อนมีสีเหลืองซีดและปรากฏสีขาวประปรายตามแผ่นใบ ทำให้ไม่ทนต่อสภาวะแดดร้อนจัดและหนาวจัด
ทองแดง Cu ใบอ่อนจะมีสีเหลือง ตาจะกลายเป็นสีดำ ยอดจะชะงักการเจริญเติบโตและตาย
โบรอน B ส่วนยอดมีสีเหลืองและแห้งตาย ลำต้นและใบบิดเบี้ยว ลำต้นไม่ค่อยยืดตัวและเปราะแตกง่าย
แมงกานีส Mn ระหว่างเส้นใบจะขาดสีเขียวหรือเกิดจุดขาวเหลือง แต่เส้นใบยังคงมีสีเขียว ไม่ออกดอกผล
เหล็ก Fe ยอดอ่อนมีสีเหลืองซีดจนกระทั่งเป็นสีขาวและแห้งตาย แต่เส้นใบยังคงมีสีเขียว