ชื่ออื่นๆ                                  : –

ชื่อวงศ์                                 : Gramineae (Poaceae)

ชื่อสามัญ                             : Celery

ชื่อวิทยาศาสตร์                 : Apium graveolens L.

1.พันธุ์ :พันธุ์คื่นฉ่ายมีหลายพันธุ์ชนิดแบ่งขายเป็นกิโล หรือเป็นปี๊บ เช่น พันธุ์โพธิ์ทอง และพันธุ์อื่นๆ

2. การเตรียมดิน คื่นฉ่ายนับเป็นผักใน 20 ผักที่สามารถปลูกแล้วได้เงินล้านขึ้นอยู่กับจังหวะ ราคา และการดูแลรักษาที่ดี ตลอดจนพื้นที่ดี ดังนั้นการเนรียมดินควรพิถีพิถันมาก คือ เมื่อไถดินแล้ว ต้องตากดินเป็นเดือนขึ้นไป และป้องกันกำจัดวัชพืชให้ดี หรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ ไม่ให้น้ำท่วมขังได้ ใส่ปุ๋ยคอก และปูนขาว พรวนดิน ยกร่องให้สวยงาม และดินละเอียดไม่แข็งก้อนใหญ่ เพราะเมล็ดพันธุ์คื่นฉ่ายเล็กมาก หากดินก้อนใหญ่แล้วเมื่อหว่านเมล็ดพันธุ์ลงไป รดน้ำมากๆ ดินละลายก็ทับเมล็ดคื่นฉ่ายหนาก็จะงอกยาก

Read More

ชื่ออื่นๆ                                  : –

ชื่อวงศ์                                 : Cruciferae

ชื่อสามัญ                             :Chinese kale,  Borecole, Collard

ชื่อวิทยาศาสตร์                 : Brassica alboglabra L.H. Bailey

 

1.พันธุ์ :พันธุ์คะน้าที่นิยมปลูกแบ่งได้เป็น 2 พันธุ์ คือ

1.1 คะน้าใบ มีลักษณะต้นอวบใหญ่ ก้านเล็ก ใบกลมหนา กรอบ ทนทานต่อดินฟ้าอากาศได้ดี มีขายตามร้านขายเมล็ดพันธุ์

1.2 คะน้ายอดหรือคะน้าก้าน ลักษณะต้นอวบใหญ่ มีดอกสีขาว ใบแหลม ก้านใหญ่ มีรสอร่อย มีความต้านทานโรค มีขายตามร้านขายเมล็ดพันธุ์

2. การเตรียมดิน การปลูกหรือหว่านคะน้าเพื่อเป็นการค้า ควรไถดินตาก 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ หรือปูนขาวด้วยเพื่อปรับปรุงดิน แล้วพรวนดินยกร่อง ด้วยรถแทรคเตอร์

3. วิธีการปลูก เกษตรกรที่ปลูกเป็นการค้า จะนิยมหว่านเมล็ดคะน้าอัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าทำเป็นจำนวนไร่มากๆ จะใช้เครื่องหว่านเมล็ดพันธุ์ สะดวกและรวดเร็ว และสม่ำเสมอ แล้วคลุมด้วยฟาง รดน้ำให้ชุ่ม จนอายุประมาณ 20-25 วัน ก็ถอนแยก ถ้าขึ้นถี่เกินไป ควรถอนแยกห่างกันประมาณ 10-15 เซนติเมตร หรือมีใบจริงประมาณ 2 คู่

Read More

ในที่นี้จะขอแนะนำสารกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มของสารและกลไกการออกฤทธิ์
กลุ่มแม่ทัพ ใช้เป็นหลักในการหยุดยั้งการระบาดอย่างรวดเร็ว
กลุ่ม 5 สปินโนแซด – ซัคเซส , สไปนีโทแรม – เอ็กซอล
กลุ่ม 13 คลอร์ฟีนาเพอร์ – แรมเพจ , แฟนทอม
กลุ่ม 21 โทลเฟนไพเรด – ฮาชิ-ฮาชิ
กลุ่ม 28 ไซแอนทรานิลิโพรล – บีนีเวียร์
กลุ่มรอง ใช้เป็นตัวยืนหลักในสภาวะปกติ เมื่อเอาไม่อยู่ มีการระบาดรุนแรง ก็จัดกลุ่มแม่ทัพมากวาด
กลุ่ม 2B ฟิโพรนิล – แอสเซนด์
กลุ่ม 4A อิมิดาโคลพริด – โปรวาโด , ไทอะมีโทแซม – แอคทารา , โคลไทอะนีดิน – แดนทอซ , ไดโนทีฟูแรน – สตาร์เกิล , อะเซทามิพริด – โมแลน , ไทอะโคลพริด – อะแลนโต
กลุ่ม 6 อีมาเมคติน เบนโซเอท
กลุ่ม 9B ไพมีโทรซิน – เพลนัม
กลุ่ม 15 คลอฟลูอะซูรอน – อาทาบรอน , ลูเฟนนูรอน – แมทซ์ , โนวาลูรอน – ไรมอน
กลุ่มพื้นเป็นตัวบวก
กลุ่ม 1A คาร์โบซัลแฟน – พอสซ์ , เบนฟูราคาร์บ – ออนคอล , เมทิโอคาร์บ – อีลีท
กลุ่ม 1B อะซีเฟต – ออทีน , คลอไพรีฟอส – ลอร์สแบน , พีรีมีฟอส-เมทิล – แอคเทลิค , ฟอสซาโลน – โซโลน
กลุ่ม 3A ไบเฟนทริน – ทาลสตาร์ , เบต้าไซฟลูทริน –โฟลิเทค , ไซฮาโลทริน-แอล – คาราเต้ , เดลตาเมทริน – เดซีส , เฟนโพรพาทิน – ดานิทอล
เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว ขอปรับปรุงกลุ่มสารที่มีประสิทธิภาพในการใช้กำจัด ทั้งเพลี้ยไฟ กะ ไอ้ฮวบ
คงขึ้นกับแต่ละพื้นที่ ระดับความต้านทาน และสารกำจัดแมลงที่จะหาได้

เท็ตตร้าคลอร์วินฟอส

(tetrachlorvinphos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  4,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  6,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนใยผัก  หนอนคืบกะหล่ำ  หมัดผักกาด  หนอนกระทู้ข้าวโพด หนอนเจาะสมอสีชมพู  หนอนเจาะลำต้นอ้อย  หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนกอ  เพลี้ยจักจั่นเขียว  เพลี้ยหอย  และแมลงศัตรูปศุสัตว์  เช่น  เห็บ  เหา เหลือบ  หมัด

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  องุ่น  ข้าวโพด  มะเขือเทศ  ข้าว  ยาสูบ  อ้อย  กะหล่ำ  ผักต่าง ๆ รวมทั้งปศุสัตว์

สูตรผสม                                 24%  อีซี  และ  75%  ดับบลิวพี

Read More

อ๊อกซามิล

(oxamyl)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลง  ไร  และไส้เดือนฝอย  คาร์บาเมท  ประเภทดูดซึม โดยผ่านทางรากและใบ  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  5.4  มก./กก.  ชนิด  24%  แอล  มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  37  มก./กก.  ชนิด  25%  แอล  มีพิษเฉียบพลันทางผิวหนัง  (กระต่าย)  2,960  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยจักจั่น  แมลงหวี่ขาว  ไรแดง  ไรสนิม หนอนชอนใบและไส้เดือนฝอย

พืชที่ใช้                                   ยาสูบ  ถั่วลิสง  ถั่วเหลือง  มะเขือ  ฝ้าย  พริกไทย  สัปปะรด  มะเขือเทศ  อ้อย  ส้ม  ไม้ผลและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 24%  แอลซี

Read More

เฮ็พตาคลอร์

(heptachlor)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนคลอรีน  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  มีฤทธิ์อยู่ได้นานวัน

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  147-220  มก./กก.  ทางผิวหนัง (กระต่าย)  มากกว่า  2,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ปลวก  มด  ด้วงดิน  และแมลงที่อยู่ในดินอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ห้ามใช้กับพืชอาหาร  ผัก  ไม้ผล  ควรใช้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในการกำจัด  มด  ปลวก  และแมลงศัตรูพืชที่อยู่ในดินเท่านั้น

สูตรผสม                                 32.3%  อีซี , 40%  ดับบลิวพี , 14%  ดีพี

Read More

ไดฟลูเบ็นซูรอน

(diflubenzuron)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารระงับการเจริญเติบโตของแมลง  (insect  growth  regulator) (กำจัดได้ทั้งในระยะไข่  ตัวอ่อนหรือตัวหนอน  โดยการทำให้ไม่ลอกคราบ  ไม่เจริญเติบโตเป็นตัวแก่และตายไปในที่สุด)

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  4640  มก./กก.

แมลงที่กำจัดได้                     หนอนผีเสื้อกัดกินและชอนใบพืช  เช่น  หนอนใยผัก  หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนกระทู้หอม  หนอนกระทู้ผัก  หนอนคืบ  หนอนหงอน  ด้วงเจาะสมอฝ้าย  และแมลงอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ส้ม  ฝ้าย  ผักต่าง ๆ  ถั่วต่าง ๆ  พืชไร่และพืชสวนทั่วไป

สูตรผสม                                 25%  ดับบลิวพี  48%  เอสซี

Read More

คาร์โบฟูแรน

(carbofuran)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไส้เดือนฝอย คาร์บาเมท(carbamate) ประเภทดูดซึม และออกฤทธิ์ได้ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลัน  (acute oral LD 50)  ทางปาก(หนู) 11 มก./กก. ทางผิวหนัง(กระต่าย)  10,200  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยกระโดดหลังขาว  เพลี้ยไฟ  หนอนม้วนใบข้าว  หนอนกระทู้ควายพระอินทร์  หนอนกอลาย หนอนเจาะสมอ  หนอนกอสีชมพู  หนอนกอสีครีม  ด้วงดีด และไส้เดือนฝอย

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ข้าว  ยาสูบ  ถั่วลิสง  มันฝรั่ง  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  อ้อย  ส้ม  ถั่วเหลือง  กล้วย  กาแฟ  ฟักทอง  แตง  องุ่น  ผักต่าง ๆ

Read More